ขอบข่ายการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชี

Ottspott  > Business >  ขอบข่ายการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชี
0 Comments

เคยสงสัยไหมว่าหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีมีแค่ไหน แต่ตรวจสอบอย่างเดียวหรือทำอย่างอื่นด้วย บอกเลยว่าไม่ใช่ ยังมีงานย่อยให้รับผิดชอบนอกเหนือจากการดูและบัญชีและงบการเงิน แต่จะมีอะไร หรือมีขอบข่ายแค่ไหนเราจะพาไปหาคำตอบ 

ขอบข่ายการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชี 

แบ่งเป็นหน้าที่หลักและหน้าที่รอง ดังนี้ 

1. หน้าที่หลัก 

การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีส่วนใหญ่มี ดังนี้ 

  • ตรวจสอบงบการเงินว่าตรงกับการบันทึกลงในบัญชีหรือไม่ หากไม่ต้องแจ้งกับทางผู้ว่าจ้างดำเนินการแก้ไข 
  • ครอบคลุมเกือบทุกหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน เช่น การวางแผน ประเมินสถานการณ์ จัดการภาษี 
  • หาแนวทางประหยัดงบประมาณด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • มีส่วนร่วมในการวางแผนป้องกันการฉ้อโกง 
  • ตรวจสอบการจ่ายภาษีว่าจ่ายถูกต้องตามเวลาหรือไม่ 
  • ดูแลบัญชีการเงินที่นำมาหมุนเวียนในบริษัทและหนี้สินต่าง ๆ (ของบริษัทผู้ว่าจ้าง) 
  • ตรวจสอบข้อมูลที่ผิดพลาด และแจ้งแก่เจ้าของกิจการ เพื่อดำเนินการแก้ไข อาจแนะนำแนวทางแก้ไขร่วมด้วย 

2. หน้าที่รอง 

สำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีมืออาชีพจำเป็นต้องทำหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 

  • ทำความเข้าใจธุรกิจ ก่อนทำการตรวจสอบหรือดำเนินการใด ๆ ควรศึกษาธุรกิจของเจ้าของกิจการว่าเป็นยังไง เป้าหมายใหญ่แค่ไหน ต้องการอะไรเป็นหลัก 
  • วางแผนการตรวจ หากต้องการปฏิบัติหน้าที่อย่างราบรื่นต้องเริ่มจากการวางแผนอย่างเป็นระบบ ลดขั้นตอนไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพส่วนอื่น ๆ 
  • งานอื่น ๆ ตามการมอบหมายของเจ้ากิจการ 

คุณสมบัติที่ดีของผู้ตรวจสอบบัญชี 

สำหรับคุณสมบัติหลักของผู้ตรวจบัญชีจะต้องผ่านการตรวจสอบจากกรมพัฒนาการค้า สภาอาชีพบัญชี หรืออื่น ๆ ก่อนจึงจะปฏิบัติงานได้ แต่ขณะเดียวก็จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเอื้อประโยชน์ต่อคุณภาพงาน ดังนี้ 

  • มีจรรยาบรรณ: ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องไม่แพร่งพรายข้อมูลของบริษัทที่ตนทำงานอยู่อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นความลับ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเท่านั้น ไม่ปลอมแปลงเอกสารเพื่อประโยชน์ส่วนตน 
  • ซื่อตรง ไม่ขึ้นกับใคร: การทำงานเป็นผู้ตรวจบัญชีไม่ควรตัดสินใจโดยไม่เอนเอียงไปยังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องมีความเป็นกลาง หรืออาจเป็นคนนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ 
  • ไม่ทิ้งงาน: ผู้ตรวจสอบต้องพร้อมปฏิบัติหน้าที่ทุกเมื่อที่ได้รับมอบหมาย ไม่ทิ้งงานกลางคันหากไม่มีเหตุผลอันสมควร 
  • มีความรู้ความสามารถ: ครอบคลุมงานด้านการเงินหรือเกี่ยวข้องกับบัญชีเกือบทุกด้าน และเข้าใจกระบวนการการทำงานที่ถูกต้อง 

เห็นหรือไม่ว่าหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชีไม่ได้มีขอบข่ายแค่การตรวจสอบบัญชีเพียงอย่างเดียว แต่หน้าที่อื่น ๆ ที่จำเป็น เช่นวิเคราะห์ความผิดพลาด วางแผน ตรวจสอบการจ่ายภาษี ฯลฯ ร่วมด้วย นอกจากนั้นสำหรับผู้มีความสามารถยังต้องทำหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตัวเอง ช่วยให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าคนที่ทำงานด้านนี้ได้ต้องเก่งจริงและมีใจรัก